วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Collaborative Learning

Collaborative Learning
   
     การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative  Learning ) 
คือการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนร่วมมือร่วมใจกันศึกษาค้นคว้า  และปฏิบัติงาน  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเต็มความสามารถ  เน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกัน  อาจใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (Cooperative  Learning)  วิธีใดวิธีหนึ่งประกอบ  วิธีการเรียนรู้ร่วมกันนี้ผู้เรียนร่วมกันเรียนตั้งแต่ขั้นเลือกประเด็นปัญหา  วางแผนดำเนินงาน  รวมทั้งการวัดและประเมินผลงาน

องค์ประกอบของการเรียนแบบร่วมมือ

มีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้

                    1. มีการรับรู้ชัดเจนต่อการพึ่งพาอาศัยกันในเชิงบวก (Clearly Perceived Positive Interdependence)

                    2. มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างสมาชิกทีมในเชิงบวก เพื่อการบรรลุเป้าหมายและมีการช่วยเหลือ  ให้คำแนะนำต่อกัน

                   3. มีความรับผิดชอบรายบุคคลและความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Individual Accountability and Personal Responsibility)

                   4. ทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Small Group Skills)  ซึ่งประกอบด้วยทักษะส่วนบุคคล ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  ในการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น นักเรียนจะต้อง รู้จักและให้ความเชื่อถือต่อผู้อื่น มีการ ติดต่อสื่อสารที่ให้ความกระจ่างชัด เตรียมการและยอมรับการสนับสนุน พยายามในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น

                   5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) กลุ่มทำงานที่ประสบผลสำเร็จก็ต่อเมื่อกลุ่มได้มีส่วนร่วมในหน้าที่เป็นอย่างดี สมาชิกได้รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดี โดยมุ่งเน้นที่การสะท้อนกลับของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สนับสนุนทักษะการร่วมมือ มีการให้รางวัลสำหรับ พฤติกรรมเชิงบวก และยินดีต่อความสำเร็จที่ได้รับ


ที่มา http://tongchanpratum.blogspot.com/


การเรียนแบบ Collaborative สามารถใช้ในกิจกรรมการเรียน ดังนี้

                1.   Group Process/Group Activity/Group Dynamics

                   1.1  เกม
                   1.2  บทบาทสมมุติ
                   1.3  กรณีตัวอย่าง
                  1.4  การอภิปรายกลุ่ม

                2.   Cooperative Learning

                   2.1  การเล่าเรื่องรอบวง (Round robin)
                   2.2  มุมสนทนา (Corners)
                   2.3  คู่ตรวจ สอบ (Pairs Check)
                   2.4  คู่คิด (Think-Pair Share)
                   2.5  ปริศนาความคิด (Jigsaw)
                   2.6  กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op)
                   2.7  การร่วมมือกันแข่งขัน (The Games Tournament)
                   2.8  ร่วมกันคิด (Numbered Headed Together)

                3.   Constructivism

                   3.1  The Interaction Teaching Approach
                   3.2  The Generative Learning Model
                   3.3  The Constructivist Learning Model
                   3.4  Cooperative Learning




ที่มา http://tongchanpratum.blogspot.com/

หัวใจในการเรียนรู้(Collaborative  Learning ) 
             การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการเรียนร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งนักเรียนจะบรรลุถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มไปถึงเป้าหมายเช่นเดียวกัน ความสำเร็จของตนเองก็คือความสำเร็จของกลุ่มด้วย
แหล่งที่มา 
http://www.gotoknow.org/posts/452239
 http://saowapa3652.blogspot.com/2012/07/theory-of-cooperative-or-collaborative.html
http://tongchanpratum.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น