วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Collaborative Learning

Collaborative Learning
   
     การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative  Learning ) 
คือการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนร่วมมือร่วมใจกันศึกษาค้นคว้า  และปฏิบัติงาน  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเต็มความสามารถ  เน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกัน  อาจใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (Cooperative  Learning)  วิธีใดวิธีหนึ่งประกอบ  วิธีการเรียนรู้ร่วมกันนี้ผู้เรียนร่วมกันเรียนตั้งแต่ขั้นเลือกประเด็นปัญหา  วางแผนดำเนินงาน  รวมทั้งการวัดและประเมินผลงาน

องค์ประกอบของการเรียนแบบร่วมมือ

มีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้

                    1. มีการรับรู้ชัดเจนต่อการพึ่งพาอาศัยกันในเชิงบวก (Clearly Perceived Positive Interdependence)

                    2. มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างสมาชิกทีมในเชิงบวก เพื่อการบรรลุเป้าหมายและมีการช่วยเหลือ  ให้คำแนะนำต่อกัน

                   3. มีความรับผิดชอบรายบุคคลและความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Individual Accountability and Personal Responsibility)

                   4. ทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Small Group Skills)  ซึ่งประกอบด้วยทักษะส่วนบุคคล ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  ในการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น นักเรียนจะต้อง รู้จักและให้ความเชื่อถือต่อผู้อื่น มีการ ติดต่อสื่อสารที่ให้ความกระจ่างชัด เตรียมการและยอมรับการสนับสนุน พยายามในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น

                   5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) กลุ่มทำงานที่ประสบผลสำเร็จก็ต่อเมื่อกลุ่มได้มีส่วนร่วมในหน้าที่เป็นอย่างดี สมาชิกได้รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดี โดยมุ่งเน้นที่การสะท้อนกลับของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สนับสนุนทักษะการร่วมมือ มีการให้รางวัลสำหรับ พฤติกรรมเชิงบวก และยินดีต่อความสำเร็จที่ได้รับ


ที่มา http://tongchanpratum.blogspot.com/


การเรียนแบบ Collaborative สามารถใช้ในกิจกรรมการเรียน ดังนี้

                1.   Group Process/Group Activity/Group Dynamics

                   1.1  เกม
                   1.2  บทบาทสมมุติ
                   1.3  กรณีตัวอย่าง
                  1.4  การอภิปรายกลุ่ม

                2.   Cooperative Learning

                   2.1  การเล่าเรื่องรอบวง (Round robin)
                   2.2  มุมสนทนา (Corners)
                   2.3  คู่ตรวจ สอบ (Pairs Check)
                   2.4  คู่คิด (Think-Pair Share)
                   2.5  ปริศนาความคิด (Jigsaw)
                   2.6  กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op)
                   2.7  การร่วมมือกันแข่งขัน (The Games Tournament)
                   2.8  ร่วมกันคิด (Numbered Headed Together)

                3.   Constructivism

                   3.1  The Interaction Teaching Approach
                   3.2  The Generative Learning Model
                   3.3  The Constructivist Learning Model
                   3.4  Cooperative Learning




ที่มา http://tongchanpratum.blogspot.com/

หัวใจในการเรียนรู้(Collaborative  Learning ) 
             การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการเรียนร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งนักเรียนจะบรรลุถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มไปถึงเป้าหมายเช่นเดียวกัน ความสำเร็จของตนเองก็คือความสำเร็จของกลุ่มด้วย
แหล่งที่มา 
http://www.gotoknow.org/posts/452239
 http://saowapa3652.blogspot.com/2012/07/theory-of-cooperative-or-collaborative.html
http://tongchanpratum.blogspot.com/

Blended learning


Blended learning 


ที่มา http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=95&Itemid=1
             
           ( Blended learning ) เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
                การเรียนบนเว็บแบบผสานผสาน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือ ข่ายและการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเรียนแบบเชิญหน้าเข้าด้วยกัน โดยใช้สิ่งอำนวยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ช่องทาง และเครื่องมือ ในบริบทของสภาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย(online learning environment) เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการ สอน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์จากการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายและการมีส่วน ร่วมในการเรียนแบบดั้งเดิม ร่วมกับการผสมผสานทฤษฎีการสอน (mixing theories of learning)เข้าด้วยกัน โดยรวมเอาหลักการ แนวคิด วิธีการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีสร้างสรรค์นิยมโดยการใช้ทฤษฎีการสอนที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความแตก ต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน ประกอบด้วย5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์และการวางแผน การออกแบบการพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบระบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน ให้ประสบผลสำเร็จ คือ ผู้เรียน เนื้อหา และระบบโครงข่ายพื้นฐาน โดยมีองค์ประกอบหลัก คือเหตุการณ์สด การเรียนตนเอง/เนื้อหาการเรียนแบบออนไลน์ การเรียนแบบร่วมมือ การประเมินผลการเรียนรู้ และอุปกรณ์สนับสนุนการเรียน
                 
           การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสมรวมเข้าด้วยกันโดยสิ่งที่ผสมคือ
                   - รูปแบบการเรียนการสอน
                  - รวมวิธีการเรียนการสอน
                   - รวมการเรียนแบบออนไลน์
ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน



ที่มา http://km.pccpl.ac.th/external_newsblog.php?links=136

การเรียนเผชิญหน้ า ( Face-to-face) เช่น 
- การบรรยายและการนำเสนอ
- การสาธิต
- การทบทวน
- การลงมือปฏิบัติ
- การสัมนา
- การแสดงบทบาทสมมติ
- การจำลองสถานการณ์
- การทำโครงงาน
- การเยี่ยมชมสถานที่



ที่มา http://mind42.com/mindmap/2ee585ec-e92a-4fc2-b619-f434064d5855?rel=pmb

ออฟไลน์แบบเรียนด้วยตนเอง (Offline: Individual Work) ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยใช้สิ่งต่างๆ  เช่น
- หนังสือ
- นิตยาสาร
- หนังสือพิมพ์
- วารสาร
- ดีวีดี
- โทรทัศน์
- วิทยุ
- บันทึกเสียง
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI



ที่มา http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=5720

ออนไลน์ (Online) เช่น
- อีเมลล์ห้องสนทนา
- เว็บบอร์ด
- การประชุมด้วยวีดิโอ
- การใช้เว็บไซด์ในการสือค้นข้อมูล
- การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebook, twitter
- การเรียนผ่านสื่อเคลื่อนที่
ประโยชน์ ( Blended learning ) 

     1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
     2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
    10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. สำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเองเหมาะ
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้
หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ Blended learning

         (Blended learning) เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้น เรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและ การใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม
แหล่งที่มา 

http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=222
http://www.slideshare.net/ATNumT/ss-16256899