วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Collaborative Learning

Collaborative Learning
   
     การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative  Learning ) 
คือการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนร่วมมือร่วมใจกันศึกษาค้นคว้า  และปฏิบัติงาน  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างเต็มความสามารถ  เน้นการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีการยอมรับในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกัน  อาจใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (Cooperative  Learning)  วิธีใดวิธีหนึ่งประกอบ  วิธีการเรียนรู้ร่วมกันนี้ผู้เรียนร่วมกันเรียนตั้งแต่ขั้นเลือกประเด็นปัญหา  วางแผนดำเนินงาน  รวมทั้งการวัดและประเมินผลงาน

องค์ประกอบของการเรียนแบบร่วมมือ

มีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้

                    1. มีการรับรู้ชัดเจนต่อการพึ่งพาอาศัยกันในเชิงบวก (Clearly Perceived Positive Interdependence)

                    2. มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างสมาชิกทีมในเชิงบวก เพื่อการบรรลุเป้าหมายและมีการช่วยเหลือ  ให้คำแนะนำต่อกัน

                   3. มีความรับผิดชอบรายบุคคลและความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Individual Accountability and Personal Responsibility)

                   4. ทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Small Group Skills)  ซึ่งประกอบด้วยทักษะส่วนบุคคล ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  ในการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น นักเรียนจะต้อง รู้จักและให้ความเชื่อถือต่อผู้อื่น มีการ ติดต่อสื่อสารที่ให้ความกระจ่างชัด เตรียมการและยอมรับการสนับสนุน พยายามในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น

                   5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) กลุ่มทำงานที่ประสบผลสำเร็จก็ต่อเมื่อกลุ่มได้มีส่วนร่วมในหน้าที่เป็นอย่างดี สมาชิกได้รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดี โดยมุ่งเน้นที่การสะท้อนกลับของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สนับสนุนทักษะการร่วมมือ มีการให้รางวัลสำหรับ พฤติกรรมเชิงบวก และยินดีต่อความสำเร็จที่ได้รับ


ที่มา http://tongchanpratum.blogspot.com/


การเรียนแบบ Collaborative สามารถใช้ในกิจกรรมการเรียน ดังนี้

                1.   Group Process/Group Activity/Group Dynamics

                   1.1  เกม
                   1.2  บทบาทสมมุติ
                   1.3  กรณีตัวอย่าง
                  1.4  การอภิปรายกลุ่ม

                2.   Cooperative Learning

                   2.1  การเล่าเรื่องรอบวง (Round robin)
                   2.2  มุมสนทนา (Corners)
                   2.3  คู่ตรวจ สอบ (Pairs Check)
                   2.4  คู่คิด (Think-Pair Share)
                   2.5  ปริศนาความคิด (Jigsaw)
                   2.6  กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op)
                   2.7  การร่วมมือกันแข่งขัน (The Games Tournament)
                   2.8  ร่วมกันคิด (Numbered Headed Together)

                3.   Constructivism

                   3.1  The Interaction Teaching Approach
                   3.2  The Generative Learning Model
                   3.3  The Constructivist Learning Model
                   3.4  Cooperative Learning




ที่มา http://tongchanpratum.blogspot.com/

หัวใจในการเรียนรู้(Collaborative  Learning ) 
             การเรียนแบบร่วมมือ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการเรียนร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งนักเรียนจะบรรลุถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มไปถึงเป้าหมายเช่นเดียวกัน ความสำเร็จของตนเองก็คือความสำเร็จของกลุ่มด้วย
แหล่งที่มา 
http://www.gotoknow.org/posts/452239
 http://saowapa3652.blogspot.com/2012/07/theory-of-cooperative-or-collaborative.html
http://tongchanpratum.blogspot.com/

Blended learning


Blended learning 


ที่มา http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=95&Itemid=1
             
           ( Blended learning ) เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
                การเรียนบนเว็บแบบผสานผสาน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่บูรณาการการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือ ข่ายและการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเรียนแบบเชิญหน้าเข้าด้วยกัน โดยใช้สิ่งอำนวยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ช่องทาง และเครื่องมือ ในบริบทของสภาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย(online learning environment) เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการ สอน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์จากการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายและการมีส่วน ร่วมในการเรียนแบบดั้งเดิม ร่วมกับการผสมผสานทฤษฎีการสอน (mixing theories of learning)เข้าด้วยกัน โดยรวมเอาหลักการ แนวคิด วิธีการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีสร้างสรรค์นิยมโดยการใช้ทฤษฎีการสอนที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความแตก ต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน ประกอบด้วย5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์และการวางแผน การออกแบบการพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล ปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบระบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน ให้ประสบผลสำเร็จ คือ ผู้เรียน เนื้อหา และระบบโครงข่ายพื้นฐาน โดยมีองค์ประกอบหลัก คือเหตุการณ์สด การเรียนตนเอง/เนื้อหาการเรียนแบบออนไลน์ การเรียนแบบร่วมมือ การประเมินผลการเรียนรู้ และอุปกรณ์สนับสนุนการเรียน
                 
           การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสมรวมเข้าด้วยกันโดยสิ่งที่ผสมคือ
                   - รูปแบบการเรียนการสอน
                  - รวมวิธีการเรียนการสอน
                   - รวมการเรียนแบบออนไลน์
ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน



ที่มา http://km.pccpl.ac.th/external_newsblog.php?links=136

การเรียนเผชิญหน้ า ( Face-to-face) เช่น 
- การบรรยายและการนำเสนอ
- การสาธิต
- การทบทวน
- การลงมือปฏิบัติ
- การสัมนา
- การแสดงบทบาทสมมติ
- การจำลองสถานการณ์
- การทำโครงงาน
- การเยี่ยมชมสถานที่



ที่มา http://mind42.com/mindmap/2ee585ec-e92a-4fc2-b619-f434064d5855?rel=pmb

ออฟไลน์แบบเรียนด้วยตนเอง (Offline: Individual Work) ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยใช้สิ่งต่างๆ  เช่น
- หนังสือ
- นิตยาสาร
- หนังสือพิมพ์
- วารสาร
- ดีวีดี
- โทรทัศน์
- วิทยุ
- บันทึกเสียง
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI



ที่มา http://www.sahavicha.com/?name=blog&file=readblog&id=5720

ออนไลน์ (Online) เช่น
- อีเมลล์ห้องสนทนา
- เว็บบอร์ด
- การประชุมด้วยวีดิโอ
- การใช้เว็บไซด์ในการสือค้นข้อมูล
- การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebook, twitter
- การเรียนผ่านสื่อเคลื่อนที่
ประโยชน์ ( Blended learning ) 

     1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
     2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
    10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. สำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเองเหมาะ
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้
หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ Blended learning

         (Blended learning) เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้น เรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและ การใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม
แหล่งที่มา 

http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=222
http://www.slideshare.net/ATNumT/ss-16256899



วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Game Online

Game Online


          เกมส์ออนไลน์ (Game Online) หมายถึง วิดีโอเกมที่เล่นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต เกมส์ออนไลน์มีส่วนที่คล้ายคลึงกับเกมส์หลายผู้เล่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Multiplayer) เกมส์ออนไลน์ส่วนมากจะเป็นเกมส์แบบ MMO (Massive Multiplayer Online) หรือก็คือเกมส์หลายผู้เล่นที่รับจำนวนผู้เล่นได้มหาศาลในพื้นที่ๆหนึ่ง (ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป) เกมส์ออนไลน์ได้รับความนิยมมากเนื่องจาก

   1.    ผู้เล่นได้เข้าสังคมจึงรู้สึกสนุกที่จะมีเพื่อนเล่นเกมส์ไปด้วยกันมากกว่าการเล่นเกมส์คนเดียว

   2.     เกมส์ออนไลน์หลายเกมที่มีกราฟิกที่สวยงามมาก จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนหันมาเล่นเกมส์
ออนไลน์

   3.    เกมส์ออนไลน์มีกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งมีการเพิ่มแผนที่ในเกม อาวุธ ชุด มอนสเตอร์ใหม่ๆ และอื่นๆ
อย่างต่อเนื่อง

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Edutainment

Edutainment

          Edutainment เกิดจากคำศัพท์ 2 คำรวมเข้าด้วยกัน คือ คำว่า Education สาระ ความรู้ กับคำว่า Entertainment ความบันเทิง เกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ว่า Edutainment ซึ่งมีความหมายว่าการได้รับสาระความรู้ด้วยรูปแบบความบันเทิง เพราะการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 สื่อในกลุ่มของ Edutainment แบ่งเป็น 3 ประเภท 

          1.สื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วีซีดี ดีวีดี หรืออินเตอร์เน็ต

          2.สื่อประเภทอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น เกมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ

          3.สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น นิทาน 



E-Learning / Learning Management System / M-Learning

         E-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้ 


ประโยชน์ของ E-Learning
-        ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
          การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
-     เข้าถึงได้ง่าย
          ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
-     ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
          เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
-      ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง 
          ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
ที่มา http://www.netthailand.com/home/articles.php?art_id=12&start=1




Learning Management System


               LMS  ( Learning Management System) หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วน

-      ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม

-      ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media 

-      ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

-    ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

-     ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin 


              M-Learning (mobile learning)  คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ   ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง  ได้แก่  Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell  Phones ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนแบบ m-Learning

                การจัดการเรียนการสอนแบบ m-Learning นั้น ผู้เรียนต้องใช้อุปกรณ์แบบติดตามตัวหรือเคลื่อนไปได้โดยสะดวก (mobile devices) ซึ่งอุปกรณ์แต่ละประเภทมีความสามารถ มีขนาดและราคาที่แตกต่างกันไป  อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอนแบบ m-Learning ได้ มีดังนี้
                ENotebook computers  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาได้ มีความสามารถเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป (Desktop of Personal Computer) ปัจจุบันมีขนาดเล็กและสามารถพกพาได้โดยสะดวก แต่ราคายังค่อนข้างสูง
 
ETablet PC  เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา มีความสามารถเหมือนกัน PC บางชนิดไม่มีแป้นพิมพ์แต่ใช้ซอฟต์แวร์ประเภทรู้จำลายมือในการรับข้อมูล ยังมีราคาแพงอยู่มาก
   
EPersonal Digital Assistant (PDA) เป็นอุปกรณ์พกพา เสมือนเป็นผู้ช่วยดิจิตอลส่วนตัว หน่วยประมวลผลมีความสามารถสูง จอภาพแสดงผลได้ถึง 65000 สีขึ้นไป สามารถประมวลผลไฟล์ประเภทมัลติมีเดียได้ทุกประเภท ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการมักใช้ Palm หรือ Microsoft Pocket PC มีซอฟต์แวร์ให้เลือกติดตั้งได้หลากหลาย
 
ECellular phones  เป็นอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์มือถือทั่วไป เน้นการใช้ข้อมูลประเภทเสียงและการรับส่งข้อความ (SMS) มีข้อจำกัด คือ มีหน่วยความจำน้อย อัตราการโอนถ่ายข้อมูลต่ำ ในรุ่นที่มีความสามารถ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน WAP (Wireless Application Protocol) หรือ GPRS (General Packet Radio Service)
   
ESmart Phones เป็นอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ความสามารถสูง รวมความสามารถของ PDA และ Cellular phones เข้าด้วยกัน อาจมีขนาดเล็กกว่า PDA และใหญ่กว่า Cellular phones ใช้ระบบปฏิบัติการ คือ  Symbian  หรือ Windows Mobile มีโปรแกรมประเภท Internet Browser ใช้เป็นอุปกรณ์ Multimedia สำหรับการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 
ข้อดีของ M-Learning

      1.การใช้ m-Learning สามารถใช้ได้ทุกสถานที่และทุกเวลา ถึงแม้สถานที่นั้น จะไม่มีสายสัญญาณให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เป็นการแก้ไขปัญหาในการเรียนแบบ Location Dependent Education
     2. อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อแบบไร้สายส่วนมาก มักมีราคาต่ำกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และมีขนาด น้ำหนักน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้สะดวกในการพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนสถานที่ใด เวลาใดก็ได้
     3.จำนวนผู้ใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่มีจำนวนมาก และใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน หากนำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีไร้สายมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ก็จะเป็นการเพิ่มช่องทางและจำนวนผู้เรียนได้
     4. การเรียนในรูปแบบ m-Learning เป็นการเรียนรู้แบบเวลาจริง เนื้อหามีความยืดหยุ่นกว่าบทเรียนแบบ e-Learning ทำให้การเรียนรูได้รับข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดีกว่า e-Learning
    5. ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ทันที เช่น การส่งข้อความ การส่งไฟล์รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการสนทนาแบบเวลาจริง (Real time)
      6.มีค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่าบทเรียนที่นำเสนอผ่านไมโครคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

ข้อจำกัดของ M-Learning

  1. จอภาพแสดงผลของอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก โดยเฉพาะในโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่สามารถแสดงข้อมูล สารสนเทศให้ผู้เรียนเห็นได้อย่างชัดเจน
  2. อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ส่วนมากมีขนาดหน่วยความจำมีความจุน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป ทำให้มีข้อจำกัดในการจัดเก็บไฟล์ประเภทมัลติมีเดีย
  3. การปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มอุปกรณ์ในอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ ทำได้ยากกว่าคอมพิวเตอร์
  4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีความเร็วต่ำ เป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนแบบ m-Learning เพราะไม่สามารถใช้สื่อประเภทมัลติมีเดียขนาดใหญ่
  5. แบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายไฟของอุปกรณ์เคลื่อนที่มีระยะเวลาที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา
  6. อุปกรณ์แบบไร้สายมีหลายรุ่น หลายยี่ห้อ คุณสมบัติของแต่ละเครื่องก็แตกต่างกัน การใช้งานก็ย่อมแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอที่เล็ก หน่วยความจำที่มีจำกัดและน้อย ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดาวน์โหลด ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลรูปภาพ และเสียง ที่ต้องใช้หน่วยความจำมาก


ที่มา http://www.l3nr.org/posts/310049



สารานุกรมออนไลน์

สารานุกรมออนไลน์



                Wikipedia  คือ  สารานุกรม ซึ่งมีหลายภาษา สามารถเข้าไปอ่านได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใดๆ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไขรวบรวมและดูแลรักษาจากอาสาสมัครทั่วโลก ผ่านซอฟต์แวร์ ชื่อ มีเดียวิก ในปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมดมากกว่า 250 ภาษา สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไขรวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม ดังนั้นข้อมูลใน Wikipedia จึงค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือสูง  และการที่ Wikipedia เป็นเสรีสารานุกรม ที่ทุกคนสามารถเข้ารไปแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้นี้เอง จึงทำให้มีผู้ประสงค์ร้ายใส่ข้อมูลเข้าไปผิดๆ แม้ส่วนใหญ่บุคคลเหล่านั้นจะถูกจับได้แล้ว แต่ท่านทั้งหลายก็ควรระวัง และอ่านข้อมูลจาก Wikipedia อย่างมีวิจารณญาณ ไม่หลงเชื่อข้อมูลที่ผิดจากบุคคลเหล่านั้น
                ปัจจุบันมีหลาย ๆ เว็บที่นำ wiki มาเป็น Engine นำ Content ขึ้นแสดงแทนที่จะใช้โปรแกรมCMS เพราะลูกเล่นในการเชื่อมโยงเนื้อหา ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ดีกว่า CMS ทั่ว ๆ ไป และการใช้งานยังง่าย (ถ้าเข้าใจวิธีใช้แล้ว) เพราะเจ้าของเว็บสามารถแก้ไขข้อมูลจากหน้าเว็บได้เลย

การค้นหาข้อมูลในวิกิพีเดีย

                ในการค้นหาข้อมูลจากวิกิพีเดียสารานุกรมนั้น เป็นการค้นหาบทความ หรือคำที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราต้องการโดยการค้นหาบทความมีวิธีการง่ายๆ ให้เราป้อนคำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องว่าง และคลิกที่ปุ่ม ไป วิกิพีเดีย จะแสดงบทความเกี่ยวกับคำที่เราต้องการซึ่งประกอบด้วย ความหมายคำ สารบัญประกอบบทความ รูปภาพ พร้อมกับแนะนำเว็บไซต์อื่นๆ ที่เราสามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้

การเชื่อมโยงของวิกิพีเดีย

                วิกิพีเดียจะเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นหน้าๆ ซึ่งในแต่ละหน้าจะเชื่อมโยงกันด้วยลิงค์ของคำ ลิงค์สีน้ำเงินหมายถึงบทความที่มีดารเขียนไว้แล้ว และลิงค์สีแดงหมายถึงคำที่ยังไม่ได้มีการเขียน เราสามารถคลิกที่ลิงค์สีน้ำเงินเพื่อเข้าไปอ่านบทความ หรือแก้ไขบทความนั้น
แก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดีย
                เนื่องจากวิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรีที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ดังนั้นเราจึงสามารถเข้าไปแก้ไขบทความ หรือเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้

                ในการค้นหาข้อมูลจากวิกิพีเดียนั้น ได้ป้อนคำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องว่าง แล้วคลิกที่ปุ่ม ไม่ วิกิพีเดียจะแสดงบทความที่เกี่ยวกับคำที่เราต้องการค้นหาซึ่งประกอบด้วย ความหมายของคำ สารบัญประกอบบทความ รูปภาพ และเว็บไซต์อื่นๆ ที่สามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้


ข้อดี

   1.เนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้
   2.เปิดเสรีที่ให้ทุกคนเขียน แก้ไขข้อมูล โดยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
   3.เผยแพร่สืบต่อกันได้อย่างเสรี
   4.นโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม

ข้อเสีย

    1.การนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่-วิกิพีเดียมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน
   2.ไม่สามารถป้องกันผู้ประสงค์ร้ายเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ
   3.ไม่มีระบบตรวจสอบความถูกต้อง

ที่มา http://kfwaranya.blogspot.com/2013/08/blog-post.html
  http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2151-wikipedia--%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

Webboard / Internet forum

WebBoard 



               WebBoard คือเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web (WWW ) ซึ่ง WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยทั่วไปมักเรียกเว็บบอร์ด(webboard)ว่า บอร์ด  หรือ กระดานข่าวสาร กระดานข่าวสารนั้นยังมีชื่อเรียกอื่นอีกมากมาย อาทิเช่น กระดานสนทนาออนไลน์,เว็บบอร์ด,เว็บฟอรัม,ฟอรัม,เมสเซจบอร์ด,บุลเลตอินบอร์ด,ดิสคัชชันบอร์ด ตัวอย่างในเว็บบอร์ดไทยได้แก่ พันทิป, เอ็มไทย

กระดานข่าวสารแบ่งได้เป็น 3 ส่วนตามลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ติดต่อ คือ
1. ผู้ใช้ที่เข้าระบบโดยการกรอกชื่อและรหัสผ่าน - ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
2  ผู้ดูแลระบบทั่วไปหรือสูงสุด - แผงปุ่มคำสั่งต่างๆ ที่ใช้จัดการกับกระดานข่าวสาร
3. ผู้ดูแลระบบสูงสุด - ฐานข้อมูลของกระดานข่าวสารผู้ใช้งานเว็บบอร์ด


ผู้ใช้งานเว็บบอร์ดจะมี 4 ระดับคือ

       -  ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะเป็นผู้ที่คอยดูแลความเรียบร้อย ตั้งค่าเว็บไซต์ต่าง ๆ สร้างหมวดหมู่สำหรับพูดคุย คอยดูแลความเรียบร้อยของเว็บไซต์

       - ผู้ช่วยดูแลเว็บไซต์ มีหน้าที่คอยดูแลกระทู้ ลบกระทู้หรือความคิดเห็นไม่เหมาะสม ย้ายกระทู้ที่ไม่ถูกหมวดหมู่ ไม่มีสิทธิในการตั้งค่าต่าง ๆ ของเว็บบอร์ด

       -  สมาชิก สามารถที่จะโพส แสดงความคิดเห็น ตั้งกระทู้ถามตอบกับเพื่อนสมาชิกด้วยกันได้

        -  ผู้ใช้งานทั่วไป ส่วนมากจะเป็นผู้ใช้งานที่ผ่านเข้ามาและเข้ามาอ่านข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บบอร์ด ไม่ต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นหรือตั้งกระทู้

ประยชน์โของการใช้ Webboard

-เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
-ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
-ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
-ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ mailing lists หรือ News Group



Internet Forum




                   Internet Forum คือบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง (virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม  Internet forums มีหลายชื่อเรียก เช่น web forums, message boards, discussion boards, discussion forums, discussion groups, bulletin boards

                 อินเทอร์เน็ตฟอรั่มหรือกระดานข้อความ, การอภิปรายเว็บไซต์ออนไลน์ที่ซึ่งผู้คนสามารถเก็บการสนทนาในรูปแบบของโพสต์ข้อความพวกเขาแตกต่างจาก ห้องสนทนา ว่าข้อความอย่างน้อยเก็บไว้ชั่วคราว Also, depending on the access level of a user and/or the forum set-up, a posted message might need to be approved by a moderator before it becomes visible.นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับระดับการเข้าถึงของผู้ใช้และ / หรือฟอรั่มตั้งค่า, โพสต์ข้อความอาจจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติโดยผู้ดูแลก่อนที่จะมองเห็นได้

ประโยชน์ของ Internet Forum

1.     สามารถแลกเปลี่ยนความคิดกันกันได้ทางอินเทอร์เน็ต
2.      ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาสินค้าที่ต้องการขายได้
3.      ได้ความรู้ใหม่ๆจากผู้อื่น