วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายและอธิบาย Hardware, Software และ Peopleware



ฮาร์ดแวร์ (Hardware)




ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง องค์ประกอบของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถจับต้องได้ เช่น ซีพียู แป้นพิมพ์ จอภาพ ดิสก์ เครื่องพิมพ์ ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์แบ่งเป็น 5 ส่วน
1.       หน่วยรับเข้า (Input unit)
2.       หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central processing unit หรือ CPU)
3.       หน่วยความจำ (Memory unit)
4.       หน่วยส่งออก (Output unit)
5.       หน่วยเก็บจำรอง (Secondary storage)

หน่วยรับเข้า (Input unit)

หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)


               หน่วยรับเข้า(Input unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ข้อมูลหรือคำสั่งนี้จะถูกนำไปเก็บไว้หน่วยความจำเพื่อเตรียมประมวลผล อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลเช่น
-          เมาส์
-          แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด
-          จอสัมผัส
-          หน่วยขับแผ่นบันทึก
-          เครื่องกราดภาพหรือสแกนเนอร์
-          เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็กหรือเอ็มไอซีอาร์

หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central processing unit หรือ CPU)



                หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่โปรแกรมสำหรับหน่วยนี้จะประกอบด้วยหน่วยย่อย อีก 2 หน่วย คือ

1.       หน่วยควบคุม (Control unit หรือ CU)
2.       หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and logic unit หรือ  ALU)

               หน่วยความจำ (Memory unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากหน่วยรับเข้าเพื่อเตรียมให้หน่วยงานประมวลผลกลางนำไปประมวลผลและเก็บผลลัพธ์ที่ได้รับจากการประมวลผล เพื่อเตรียมให้หน่วยส่งออก
ประเภทของหน่วยความจำเช่น
1.       หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มหรือแรม (Random access memory หรือ RAM)
2.       หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (Read only memory หรือ ROM)

หน่วยส่งออก (Output unit)



              หน่วยส่งออก (Output unit)  ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล สำหรับอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล เช่น
-          จอภาพ
-          เครื่องพิมพ์
-          พล็อตเตอร์

หน่วยเก็บจำรอง (Secondary storage)




              หน่วยเก็บความจำรอง (Secondary storage) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่จะเข้าหน่วยความจำหลักก่อนที่จะประมวลผลด้วยซีพียู รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บผลลัพธ์ที่ได้ผลแล้ว เพื่อนำไปใช้งานในภายหลัง อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยเก็บรอง เช่น
-          จานแม่เหล็ก
-          เทปแม่เหล็ก
-          ซีดีรอม

ที่มา หนังสือวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ






ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการอย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพ ซอฟแวร์จะมีลักษณะเป็นชุดคำสั่งที่เขียนโดยภาษาคอมพิวเตอร์
ซอฟแวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.       ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2.       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น


1.       ระบบปฏิบัติการ (Operating system)
2.       โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility program)
3.       ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver)
4.       โปรแกรมแปลภาษา (Translator)
                
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้
1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) หมายถึง ชุดโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ให้กับซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น Windows XP , DOS , Linux , Mac OS X


1.2 ยูทิลิตี้ (Utility Program) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องทำงานง่ายขึ้นเร็วขึ้น และการป้องกันการรบกวนโดยโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส , โปรแกรม Defrag เพื่อจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ ทำให้การอ่านข้อมูลเร็วขึ้น , โปรแกรมยกเลิกการติดตั้งโปรแกรม Uninstall Program , โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (WinZip-WinRAR)เพื่อทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ,โปรแกรมการสำรองข้อมูล(Backup Data)

1.3 ดีไวซ์ไดเวอร์ (Device Driver หรือ Driver) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในส่วนการรับเข้าและการส่งออก ของแต่ละอุปกรณ์ เช่น เมื่อเราซื้อกล้องวีดีโอมาใหม่และต้องการนำเอาวีดีโอที่ถ่ายเสร็จ นำไปตัดต่อที่คอมพิวเตอร์ ก็ต้องติดตั้งไดเวอร์ หรือโปรแกรมที่ติดมากับกล้อง ทำการติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักและสามารถรับข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกได้
                    โดยปกติโปรแกรม windows ที่เรามีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไดเวอร์ติดตั้งมาให้แล้วโดยเราไม่ต้องทำการติดตั้งไดเวอร์เอง เช่น ไดเวอร์สำหรับเมาส์ ,ไดเวอร์คีย์บอร์ด, ไดเวอร์สำหรับการใช้ USB Port , ไดเวอร์เครื่องพิมพ์ แต่ถ้าอุปกรณ์ใดไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ก็ต้องหาไดเวอร์มาติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ซึ่งต้องเป็นไดเวอร์ที่พัฒนามาของแต่ละบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

1.4 ตัวแปลภาษา (Language Translator) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจว่าต้องการให้ทำอะไร เช่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ได้เขียนโปรแกรมเสร็จโดยเขียนในลักษณะภาษาระดับต่ำ (Assenbly) หรือภาษาระดับสูง (โปรแกรมภาษา C) เสร็จก็ต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านเข้าใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเฉพาะตัวเลข 0 กับ ตัวเลข 1 เท่านั้น

ตัวแปลภาษาแบ่งได้ 3 ตัวแปล ดังนี้

          - แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง เช่นแปลจากภาษา Assembly เป็นภาษาเครื่อง
          - อินเทอพรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทีละบรรทัดคำสั่ง เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา Basic ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษาเครื่องทีละบรรทัดคำสั่ง
          - คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว เช่น โปรแกรมเมอร์ใช้โปรแกรมภาษา C ในการพัฒนาโปรแกรมแล้วแปลเป็นภาษา เครื่องโดยแปลทั้งโปรแกรมทีเดียว ซึ่งจะเป็นที่นิยมมากกว่า ข้อ 2

ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software)

                ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะอย่าง เช่น งานด้านธุรกิจ งานด้านวิทยาศาสตร์ งานเกี่ยวกับการคำนวณ ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกเป็น


1.       ซอฟแวร์หรือโปรแกรมสำเร็จ
2.       ซอฟแวร์หรือโปรแกรมเฉพาะงาน

ซอฟต์แวร์สำเร็จ

                  ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)

                     1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร

                     2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส

                    3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส

                    4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก

                      5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

                       การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

                        ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ

                       ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

ที่มา  หนังสือวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
           http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/






บุคลากร  (Peopleware)




                บุคลากร หมายถึง เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทำงาน
บุคลากรสามารถแบ่งออกตามหน้าที่ได้เป็น 5 ประเภท คือ
1.       ผู้ใช้ (User)
2.       หัวหน้าหน่วยงาน  (EDP manage)
3.       บุคลากรด้านปฏิบัติการ (Operation group)
4.       บุคลากรด้านการเขียนโปรแกรมและระบบ (Systems and programming group)
5.       บุคลากรด้านการสนับสนุนทางเทคนิค (Technical support group)


                ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้นๆ เช่น การพิมพ์งาน การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้

               ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter) หมายถึงผู้ดูแลและคอยตรวจสอบสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพความพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิคการรักษา ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดการต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ค่อนข้างดี

                ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่างๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้งาน

               ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) เป็นผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่าองค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดและได้คุณภาพดี เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ทำงานในส่วนต่อไป

               ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager) เป็นผู้มีหน้าที่บริหารทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

ที่มา
http://home.kku.ac.th/regis/student/success/peopleware.html










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น